เจดีย์

   หรือบางคนเรียกว่า “กรุพระรอด” สร้างในสมัยพระนางจามเทวี  เจดีย์ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งแรกใน ปีพ.ศ.1620 ในสมันของพญาสรรพสิทธิ์ และบูรณครั้งที่ ในปีพ.ศ.1871 ในสมัยพญาฟูคำ
   กาลต่อมาวัดมหาวันได้ร้างไปเป็นเวลานาน เจดีย์ได้ปรักหักพังไป คงเหลือแต่ฐาน สูงประมาณ 6 เมตร ทางวัดโดยท่านเจ้นคุณพระญาณมงคล จึงได้บูรณะปฏิสังขรณ์เจดีย์ขึ้นมาใหม่ โดยสร้างครอบฐานเจดีย์องค์เก่า ในปีพ.ศ.2465 และได้บูรณอีกหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายในปีพ.ศ.2537 ท่านประครูพิศาลธรรมนิเทศก์ ได้บูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่โดยฉาบปูนและหุ้มทองทั้งองค์ ปิดทองคำเปลวทั้งหมด

พระประธานในวิหาร

ปารมารวิชัย สร้างในปี พ.ศ.1620 โดยพญาสรรพสิทธิ์

พระพุทธสักขีปฏิมากร

   หรือเรียกกันว่า พระรอดหลวง เป็นพระพุทธรูปที่สร้างด้วยหินศิลาสีดำ หน้าตักกว้าง 17 นิ้ว สูง 36 นิ้ว นั่งขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ ประดิษฐานบนแท่นแก้วที่มีงาช้างครอบ ตั้งอยู่ด้สนหน้าพระประธานในวิหาร เป็นพระพุทธรูปที่เจ้าแม่จามเทวีอัญเชิญมาจากเมืองละโว้ เมื่อประมาณปีพ.ศ.1204

พระรอด

   เป็นพระพิมพ์ขนาดเล็กที่สุดในบรรดาพระเครื่องสกุลลำพูน สร้างครั้งแนกในสมัยพระนางจามเทวี  โดยนารอด(นาร์ท) ฤาษี คือประมาณ 1,300 กว่าปีมาแล้ว พระรอดเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผา ปางมารวิชัย มีฐานใต้ที่นั่งและผ้านิสีทนะ (ผ้าปูนั่ง) รองรับปูไว้บนฐานข้างหลังองค์พระมีลอดลายกะจัง ไม่อยู่ในเรือนแก้ว พระพักตร์มีพระโขนง (คิ้ว) เนตร (ตา) โอษฐ(ริมผีปาก) และนาสิก(จมูก) พระอุระ(อก) ผึ่งผาย พระกรรณ(หู) ยาวลงมาเกือบจดพระอังสะ(บ่าหรือไหล่)ทั้งสองข้าง
   ส่วนด้านหลังของพระพิมพ์ไม่มีลวดลายอะไร พระรอดมีหลายขนาด ตั้งแต่ ขนาดโตเท่าพระคง นอกนั้นมีขนาดเรียงกันมาจามลำดับ จนถึงขนาดเล็กเท่าในมะขาม พระรอดมีสีแตกต่างกันหลายสี เช่น สีแดง สีดอกพิกุล สีเทา สีดำ เป็นต้น ปัจจุบันพระรอดเป็นพระเครื่อง 1 ใน 5 องค์ของชุดพระเครื่องเบญจภาคี

ธรรมาสน์ทรงปราสาท

สร้างในพ.ศ.2486 ปัจจุบันตั้งอยู่ในวิหาร