ประวัติการสร้างวัด
จากหนังสือจามเทวีวงศ์ กล่าวว่า พระนางจามเทวีพร้อมด้วยพะรภิกษุสงฆ์ พรามหมณ์ราชบัฑ แทพย์ ช่างแขนงต่าง ๆ เศรษฐี คหบดี ได้เสด็จจากเมืองละโว้มาทางชลมารคตามคำเชิญของวาสุเทพฤาษีและสุกกทันตฤาษี ซึ่งเป็นผู้สร้างเมืองหริภุญไชยบนริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำกวงเพื่อมาปกครองเมืองนี้ หลังจากพิธีราชาภิเษกพระนามจามเทวีบนผ่นดินทองสุวรรณอาสน์เป็นปฐมกษัตริย์แล้ว(นครแห่งนี้จึงมีชื่อว่า นครหริภุญไชย)
พระนางจามเทวีได้ชักชวนบรรดาประชาราษฎร์ให้สร้างพระอารามน้อยใหญ่ ให้เป็นที่พำนักอาศัยขอพระภิกษุสงฆ์จำนวน 500 รูป ที่พระนางได้อารธนามาจากกรุงละโว้ และพระนางก็ได้สร้างมหาวิหารรวม 4 แห่ง ในนครหริภุญไชย (ไม่นับรวมวัดมาลุวาราม ที่ตั้งด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันมีชื่อเรียกว่า วัดรมณียารามหรือวัดกู่ละมัก เพราะสร้างก่อนพิธีราชาภิเษก) คือ
1. อรัญญิกรัมมาราม อยู่ด้านตะวันออก ปัจจุบันเรียกว่า วัดดอนแก้ว(วัดต้นแก้ว)
2. อาพัทธาราม อยู่ทางด้านทิศเหนือ ปัจจุบันเรียกว่า วัดพระคงฤาษี
3. มหาลดาราม อยู่ทางทิศใต้ ปัจจุบันเรียกว่า วัดประตูลี้หรือวัดสังฆาราม
4. มหาวนาราม อยู่ทางด้านทิศตะวันตก ปัจจุบันเรียกว่า วัดมหาวัน
เมื่อสร้างวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระนามจามเทวีได้สร้างพระพุทธรูปและพระพิมพ์หลายชนิดเป็นจำนวนมาก พระพิมพ์ส่วนหนึ่งบรรจุไว้ในเจดีย์ของมหาวิหาร 4 แห่ง อีกส่วนหนึ่งแจกจ่ายให้ทหาร ข้าราชบริพาร และประชาชนทั่วไป มหาวิหารทั้ง 4 มีความเจริญรึ่งเรืองมาโดยตลอดรัชสมัยของพระนามจามเทวี หลังจากพระนามจามเทวีสวรรคตไปแล้ว วัดมหาวนารามยังคงอยู่ในความอุปถัมภ์ราชวงศ์จามเทวีตลอดมา ตำนามมูลศาสนาบันทึกไว้ว่า พญาสรรพสิทธิ์
กษัติย์แห่งนครหริภุญไชยเคยบรรพชาเป็นสามเณรจำพรรษาที่วัดนี้ เมื่อปี พ.ศ.1620 พญาสรรพสิทธิ์ได้เป็นประธานบูรณปฏิสังขรณ์วัดมหาวนารามและพระเจดีย์ ได้สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ปางมารวิชัย 1 องค์ เป็นพระประธานในวิหารและได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น”วัดมหาวัน” กาลต่อมาวัดมหาวันได้กลายเป็นวัดร้าง แต่จะร้างไปเป็นระยะเวลากี่ปีไม่มีข้อมูลแน่ชัด จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2365 จึงได้ข้อมูลปรากฏว่า ได้มีพระภิกษุและสามเณรจำนวนหนึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดมหาวัน ซึ่งครูบาอินทรภิกษุเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น ต่อมาในปี พ.ศ.2373 มีครูบาอริยวังโสดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดมหาวัน ซึ่งท่านได้พัฒนาด้านการศึกษาของพระสงฆ์และสามเณรในวัดจนมีความเจริญขึ้นเป็นอย่างมาก ท่านจารึกคัมภีร์ บาลีไวยกรณ์ต่าง ๆ มากมาย ทิ้งไว้เป็นมาดกให้แก่วันมหาวันจนทุกวันนี้